วิธีแก้ไขปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า!
โรคเน่าคอดินเป็นโรคทุเรียนที่สร้างความเสียหายมากให้กับผู้ที่ปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก มีอาการเน่าที่โคนต้นจะมีใบด้านสลด และไม่เป็นมัน สีใบเริ่มเหลืองและร่วง กิ่ง หรือที่ผิวเปลือกของต้นทุเรียนคล้ายมีคราบน้ำเกาะติดโดยสภาพที่ต้นทุเรียนจะเกิดจุดฉ่ำน้ำและมีน้ำเยิ้มออกมาเนื้อเยื่อและเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และลุกลามจนต้นตายลง
สาเหตุของการเกิดโรค
เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า (Phytophthora palmivora (Buller) Butler) ซึ่งเป็นเชื้อราที่จะอาศัยอยู่ในดิน ซึ่งเชื้อราไฟทอปทอร่าจะเข้าไปทำลายพืชได้อย่างรุนแรง และรวดเร็ว ซึ่งชื่อของไฟทอปทอร่าก็มีความหมายเป็นผู้ทำลาย ซึ่งความเสียหายจากเชื้อราตัวนี้จะมากน้อยแค่ไหนก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นเป็นพื้นที่หรืออยู่ในฤดูที่ฝนตกบ่อย ลมพายุพัดผ่านก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคระบาดได้อย่างรุนแรงนั่นเอง
การแพร่ระบาดของโรค
พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนนั้นมีความสำคัญอย่างมากในการปลูกทุเรียน โดยพื้นที่ที่เหมาะสมกับการแพร่ระบาดจะเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกตลอดเวลาทำให้ดินชื้อและแฉะอยู่ตลอดเวลา มีความชื้นสูง ลมพายุพัดผ่าน ทำให้การแพร่ระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วเป็นวงกว้าง และนอกจากนี้สปอร์ซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของโรคนี้ยังมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดีอีกด้วย
วิธีป้องกันการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนสำหรับผู้ที่เริ่มปลูกทุเรียน
เริ่มจากการปรับสภาพดินบริเวณหลุมที่จะปลูกด้วนปูนขาว จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์
รองก้นหลุมที่จะปลูกด้วยเชื้อราไตรโคโดรม่า
หลังจากปลูกต้นทุเรียนลงในหลุมให้โรยเชื้อจุลินทรีย์ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและรำข้าวในอัตรา ( 1 : 50 100 : 4 กก. )
วิธีป้องกันกำจัดเมื่อเกิดโรครากเน่าโคนเน่าขึ้นแล้ว
เริ่มจากให้ทำการขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกแล้วทาแผลด้วยปูนแดงหรือสารป้องกันโรคพืช
ทาแผลด้วยปูนแดงหรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราและโรคพืช
หากมีอาการรุนแรงที่ลำต้นหรือกิ่งใหญ่ ใช้ฟอสฟอรัส 40% ฉีดที่ลำต้นส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดี ใกล้บริเวณที่เป็นโรค/หรือฉีดเข้าลำต้นเหนือระดับดิน
หว่านจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าไว้รอบโคน ผสม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และรำข้าว ในอัตรา ( 1 : 50 100 : 4 กก. )
ไตรโคเดอร์มา ป้องกันกำจัด โรคพืชที่เกิดจากเชื้อราร้าย
#โรครากเน่า #โรคโคนเน่า #กล้ายุบตาย #ใบไหม้ ใบจุด ใบขีดสีน้ำตาล เมล็ดด่าง ราสนิม ราน้ำค้าง โรคผลเน่า โรคใบติดทุเรียน โรคเหี่ยว โรคไฟทอปธอร่า ทั้งที่ ลูก ผล ต้น ใบ โรคเน่าคอดิน โรคกิ่งแห้ง ทุเรียนก้านธูป